


.
1.หากเกิดการสุญเสียฟันน้ำนมบริเวณฟันหน้า การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาจะมีผลต่อการพัฒนาด้านการพูด ส่งผลให้ลูกไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะบางตัวหรือคำบางคำได้ไม่ชัดเจน รวมถึงจะส่งผลในเรื่องของความมั่นใจของลูกน้อยด้วย
2.หากเกิดการสูญเสียฟันน้ำนมบริเวณฟันหลัง การสูญเสียฟันน้ำนมในช่วงฟันหลังส่งผลกระทบในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหารประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารลดลง เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดและไม่สามารถเคี้ยวอาหารบางประเภท โดยเฉพาะอาหารที่มีความเหนียว แข็ง กรอบ การสูญเสียความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารจะทำให้เด็กอยากอาหารน้อยลง หรือไม่อยากอาหารเลย ซึ่งจะทำให้พลาดโอกาสที่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
3.หากฟันน้ำนมถูกถอนไปก่อนกำหนด ส่งผลให้พัฒนาการของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ การใช้ฟันน้ำนมบดเคี้ยวอาหารจะกระตุ้นให้ขากรรไกรมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้มีพื้นที่ว่างพอที่จะรองรับฟันแท้ซึ่งมีขนาดใหญ่และจำนวนมากกว่าฟันน้ำนม การสูญเสียเสียฟันไปก่อนวัยอันควรจะทำให้มีปัญหาในเรื่องของการบดเคี้ยว ส่งผลให้ขากรรไกรไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตผิดรูป นอกจากบดเคี้ยวอาหารแล้ว ฟันน้ำนมยังมีหน้าที่เก็บพื้นที่หรือล็อกตำแหน่งที่ฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ หากสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด พื้นที่ที่เคยเป็นฟันซี่นั้นก็จะกลายเป็นช่องว่าง หากไม่มีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ฟันซี่อื่นในบริเวณใกล้เคียงก็จะเกิดการล้มเอียง บิด เก และอาจไปขัดขวางฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาแทนที่ ส่งผลให้ฟันแท้ที่ควรจะขึ้นในตำแหน่งดังกล่าวขึ้นผิดทิศทาง
.



.