บูรณะฟันอย่างสวยงาม
อุดฟัน
การอุดฟัน คือการซ่อมแซมฟันที่เสียหายจากการผุ สึกกร่อน หรือแตกบิ่น โดยการเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออก แล้วจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป เพื่อให้ฟันกลับมามีสภาพตามเดิมและสามารถใช้งานบดเคี้ยวอาหารได้ นอกจากนี้ การอุดฟันยังช่วยป้องกันการผุลุกลามของฟัน และช่วยลดอาการเสียวฟันได้
โดยคลินิกทันตกรรม สไมล์ สเปซ มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการบูรณะฟัน ที่สามารถแก้ไขความเสียหายของฟันที่มีความซับซ้อน และสามารถฟื้นฟูฟันให้กลับมาสวยงามได้อย่างเชี่ยวชาญ
อมัลกัม (เงิน)
เรซิน คอมโพสิท
เซรามิก (พอซเลน)
การอุดฟัน ทำอย่างไร?
หลังจากตรวจพบรอยผุบนตัวฟัน และทันตแพทย์ประเมินว่าสามารถอุดได้แล้ว ในขั้นตอนการอุดฟัน ทันตแพทย์จะกรอเพื่อกำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุออก จากนั้นจึงทำความสะอาด ตามด้วยการใส่วัสดุอุดฟันที่เหมาะสมลงไปแทนที่ ซึ่งวัสดุอุดฟันก็มีทั้งที่สีดูคล้ายกับฟันจริง และวัสดุที่มีสีเป็นโลหะ
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
วัสดุที่ใช้สำหรับอุดฟันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งชนิดที่เป็นที่นิยม ได้แก่
- อมัลกัม (เงิน) เป็นวัสดุที่มีความทนทานสูง คงอยู่ได้นาน และราคาไม่แพง แต่ข้อจำกัดคือวัสดุอมัลกัมจะมีสีเข้มเหมือนโลหะ ทำให้เห็นได้ชัดและดูไม่สวยงามกลมกลืนกับฟันจริง
- เรซิน คอมโพสิท เป็นวัสดุที่มีสีคล้ายกับฟันจริง ทำให้ฟันซี่ที่อุดดูสวยงามเป็นธรรมชาติ แต่วัสดุดังกล่าวจะไม่สามารถอุดฟันที่ผุเป็นบริเวณกว้างได้ อีกทั้งมีอายุการใช้งานน้อยกว่าอมัลกัม และยังอาจเกิดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่ได้
- เซรามิก (พอซเลน) หรือที่เรียกว่า อินเลย์ หรือ ออนเลย์ เป็นวัสดุที่ต้องเตรียมในห้องปฏิบัติการ แล้วนำมาเชื่อมต่อกับฟัน ซึ่งสามารถเลือกเฉดสีให้ใกล้เคียงกับฟันได้มากที่สุด รวมถึงยังสามารถใช้อุดฟันที่ผุเป็นวงกว้างได้ และมีความทนทานต่อการเกิดคราบ แต่ข้อจำกัดคือมีราคาสูงกว่าวัสดุแบบอื่น
ข้อดีของการอุดฟัน
- ช่วยซ่อมแซมฟันที่ผุให้กลับมาแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ โดยยังเก็บเนื้อฟันส่วนที่ดีไว้
- สามารถป้องกันฟันผุลุกลาม และอาการเสียวฟันได้
- เป็นวิธีบูรณะฟันที่รวดเร็ว และราคาไม่สูงมาก
- สามารถเลือกวัสดุที่มีสีเหมือนฟันได้ ทำให้ฟันดูสวยงาม
คำแนะนำหลังการอุดฟัน
- ช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการอุดฟัน อาจมีอาการเสียวฟันได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานของที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง เพราะอาจทำให้วัสดุอุดฟันเสียหายได้
- หลังการอุดฟัน หากมีอาการเจ็บหรือปวดฟันขณะเคี้ยวอาหาร อาจเกิดจากวัสดุอุดฟันสูงเกินไปหรือไม่พอดีกับโครงสร้างฟัน ควรกลับมาพบทัน